“หูดับเฉียบพลัน (Sudden Sensorineural Hearing loss)”

“หูดับเฉียบพลัน (Sudden Sensorineural Hearing loss)” : รูปแบบแผ่นพับ [1] [2]

การสูญเสียการได้ยินอย่างเฉียบพลัน หรือ หูดับฉับพลัน  เป็นการเสื่อมการได้ยินที่เกิดขึ้นภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว  ส่วนใหญ่มักจะไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอน  พวกที่ทราบสาเหตุแน่นอน จะพบได้ไม่มาก ได้แก่   การติดเชื้อไวรัส เช่น คางทูม ,หัด ,งูสวัด เป็นต้น การติดเชื้อแบคทีเรีย การบาดเจ็บที่ศีรษะ,กระดูก temporal หัก , การรั่วของน้ำในหูชั้นใน, เนื้องอก CN8 หรือ เป็นจากยาเป็นต้น

อุบัติการณ์               พบได้ประมาณ 5-10/100,000/ปีหรือร้อยละ 2-3 ของจำนวนผู้ป่วยโรคหู

อาการ และอาการแสดง

                ผู้ป่วยมักจะให้ประวัติมีอาการหูอื้อขณะตื่นจากที่นอน หรือสังเกต พบว่าการได้ยินลดลงในขณะที่พูดโทรศัพท์เป็นต้น  อาการอื่นที่พบร่วมด้วย ได้แก่ อาการเวียนศีรษะ ( vertigo), อาการเสียงดังในหู (tinnitus) ผู้ป่วยจะเป็นที่หูข้างใดข้างหนึ่ง มีจำนวนน้อยมากที่พบอาการพร้อมกันทั้ง 2 ข้าง

สาเหตุ

                ส่วนใหญ่เน้นเป็นผู้ป่วยไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอน  แต่เชื่อกันว่ามีสาเหตุดังต่อไปนี้

  1. การติดเชื้อไวรัส  โดยมีรายงานว่าผู้ป่วยอาจจะมีอาการไข้หวัดนำมาก้อนหรือมีการติดเชื้อไวรัส เช่น      หัดเยอรมัน, หัด , คางทูม หรือ งูสวัดเป็นต้น
  2. ความผิดปกติทางหลอดเลือด เมื่อมีการยุดตันของเส้นเลือด จะเกิดภาวะขาดเลือดไปเลี้ยงหูชั้นใน นำมาซึ่งการเสื่อมการได้ยินแบบฉับพลันได้  โรคที่มีมักพบได้แก่ โรคทางหลอดเลือด, เม็ดเลือด ,เกร็ดเลือด,           ความดันโลหิตสูง ,เบาหวาน
  3. การฉีกขาดเยื่อบุภายในหูชั้นใน  จากการเปลี่ยนแปลงความดัน เช่น จาม ไอ ,ยกของหนัก, การดำน้ำ หรือเดินทางโดยเครื่องบิน ทำให้เกิดการผสมของสารในหูชั้นใน เปลี่ยนแปลงจากเดิมส่งผลต่อการนำกระแสประสาทการรับเสียง
  4. ความผิดปกติของภูมิคุ้มกัน

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

  1. นอกเหนือจากการตรวจร่างกายโดยการดูหูแล้ว
  2. ยังมีการตรวจการได้ยินเพื่อหาระดับความรุนแรงของการสูญเสียการได้ยิน
  3. และยังมีการตรวจจากห้องปฏิบัติการเพื่อหาสาเหตุของโรค เช่น เม็ดเลือดแดง ,ระดับน้ำตาล,

เกลือแร่, การทำงานของไต , ระดับไขมันในเลือด,ระดับการทำงานต่อมธัยรอยด์

  • การตรวจทางรังสี เช่น x-ray ปอด คลื่นแม่เหล็ก
  • การตรวจการทำงานของระบบการทรงตัว

การรักษา

ทำให้จิตใจสงบ ลดความวิตกกังวล เนื่องจากความเครียดทำให้อาการแย่ลงกว่าเดิม

     การรักษาทางยา

  1. พักผ่อนให้มาก/เงียบ ปราศจากเสียงรบกวน
  2. จำกัดความเค็มของอาหาร
  3. ยาขับปัสสาวะ เพื่อลดระดับน้ำที่มากเกิน
  4. ยาสเตียรอยด์ มีทั้งแบบรับประทาน, แบบ….ขอบเลือดดำ ในกรณีที่มีข้อห้ามในการใช้ อาจจะใช้แบบฉีดเข้าหูชั้นกลาง โดยตรงผ่านเยื่อแก้วหู
  5. ยาขยายหลอดเลือด เพื่อช่วยเพิ่มปริมาณเลือดไปหูชั้นใน
  6. ยาต้านไวรัส ในกรณีมีหลักฐานชัดเจนว่ามีการติดเชื้อไวรัส

การผ่าตัด

       มีข้อบ่งชี้ในรายที่สงสัยว่ามีการรั่วของน้ำในหูชั้นใน เนื่องจากการฉีกขาดของ CW/RW ให้รักษาด้วยการผ่าตัดเปิดแก้วหู  ค้นหารูรั่วแล้วอุดรูรั่ว

การพยากรณ์โรค

ร้อยละ 30-65 อาการดีขึ้นเอง โดยปราศจากการักษาได้ การพยากรณ์ของโรคขึ้นกับปัจจัยดังนี้

  1. ระยะเวลาที่มาพบแพทย์

ถ้าได้รับการรักษาภายในช่วง 7 วันแรกจะได้ผลดีกว่าจาก 7วันไปแล้ว และพยากรณ์โรคแย่ลงเมื่อช้ากว่า 1เดือน

  • ความรุนแรงของการเสื่อมการได้ยิน

ถ้าการสูญเสียได้ยินน้อย พยากรณ์โรคจะดี

  • อาการเวียนศีรษะร่วม  บอกดึงพยาธิสภาพรุนแรง พยากรณ์โรคไม่ดี
  • อายุ โดยเฉพาะมากกว่า 40 ปี ยิ่งไม่ดี

โดย  พญ. สายสุรีย์  นิวาตวงศ์

Leave a reply