โพแทสเซียมในผักและผลไม้

โพแทสเซียม

เป็นเกลือแร่ชนิดหนึ่ง มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการยืดหดของกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะ “กล้ามเนื้อหัวใจ” รักษาสมดุลของน้ำ กรด-ด่างในร่างกาย ควบคุมความดันโลหิต ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง ขับโพแทสเซียมได้น้อย  ทำให้เกิดการคั่งของโพแทสเซียมในเลือด เป็นอันตรายถึงชีวิต ต้องทำการฟอกเลือดจึงจะสามารถขับโพแทสเซี่ยมได้ ระดับโพแทสเซียมปกติ เท่ากับ 3.5–5.0 mEq/L ระดับโพแทสเซียมต่ำ น้อยกว่า 3.5 mEq/L ทำให้เกิดอาการซึม อ่อนเพลีย คลื่นไส้ เบื่ออาหาร ตะคริว  ระดับโพแทสเซียมสูง มากกว่า 5.0 mEq/L ทำให้เกิดการคั่งของน้ำในร่างกาย หายใจลำบาก หัวใจเต้นผิดปกติ จนถึงหยุดเต้น

ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง

ควรใส่ใจในการเลือกรับประทานผัก ผลไม้ ซึ่งเป็นกลุ่มอาหารที่มีแร่ธาตุโพแทสเซียมต่ำ จะช่วยลดการคั่งของโพแทสเซียมในเลือด  รักษาสภาวะน้ำในร่างกายให้อยู่ในระดับปกติ ลดภาวะบวมน้ำ รวมทั้งป้องกันการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว รับประทานผัก-ผลไม้อย่างไรจึงเหมาะสม

การจำกัดผัก-ผลไม้ขึ้นอยู่กับระดับ โพแทสเซียมในเลือด ถ้าผลเลือดอยู่ในระดับต่ำ (น้อยกว่า 3.5) ไม่จำเป็นต้องงดผัก ผลไม้ ควรเลือกรับประทานผักผลไม้หมุนเวียนได้ตามปกติ ผู้ป่วยที่มีระดับโพแทสเซี่ยมปานกลาง (3.5-5) ควรรับการประทานอาหารผลไม้ที่มีโพแทสเซี่ยมต่ำ ผู้ป่วยที่มีโพแทสเซี่ยมสูง ควรงดผักและผลไม้สด

หากนำผักมาสับเป็นชิ้นเล็กๆ ต้มน้ำแล้วเทน้ำทิ้ง จะสามารถลดโพแทสเซียมลงได้ แต่ข้อเสียคือ วิตามินที่อยู่ในผักจะสูญเสียไป อาหารที่มี โพแทสเซียมสูง (ผักสีเข้ม) ได้แก่  ทุเรียน กล้วย กระท้อน ลำไย ขนุน มะละกอสุก ฝรั่ง แคนตาลูป มะเขือเทศ คะน้า ฟักทอง หน่อไม้ฝรั่ง หัวปลี ผักชี มันฝรั่ง แครอท ผลไม้แห้งต่างๆ เช่น ลูกเกด ลูกพรุน

ผักและผลไม้ที่มีโพแทสเซียมสูง

อาหารที่มี โพแทสเซียมปานกลาง

ได้แก่ สับปะรด แอปเปิ้ล เงาะ ส้ม องุ่น ลิ้นจี่ แคนตาลูป ส้มโอ มะม่วงดิบ สตรอเบอรี่ ลางสาด มะเขือยาว พริกหวาน หอมหัวใหญ่ ผักบุ้งจีน มะละกอดิบ ถั่วพู(ฝักอ่อน)

  สับปะรด 8 คำ   เงาะ 4 ผล ส้ม 1 ผล

มีข้อสงสัยกรุณาติดต่อ คลินิกหูคอจมูก คลินิกศูนย์แพทย์พัฒนา

โทรศัพท์   02-3190909 ต่อ2309-2310 เวลา 08.00-19.00น.

Leave a reply