รู้ทันยา WARFARIN (วอร์ฟาริน)

           “วอร์ฟาริน”  เป็นยารับประทานที่ออกฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของเลือด  ให้เลือดแข็งตัวช้ากว่าปกติในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยง  เพื่อป้องกันการเกิดลิ่มเลือดซึ่งอาจทำให้เกิดการอุดตันในระบบไหลเวียนของร่างกาย ในผู้ป่วยที่รับประทานยาตัวนี้แพทย์มีความจำเป็นที่ จะต้องเจาะเลือดเพื่อติดตามระดับ INR เป็นระยะ ๆ    เพื่อดูระดับการต้านการแข็งตัวของเลือด ว่าเหมาะสมหรือไม่ ?

ปัจจัยที่ทำให้ค่า INR อยู่นอกช่วงการรักษา

  1. การรับประทานยาผิดพลาดหรือลืมรับประทานยา
  2. การเปลี่ยนแปลงของการรับประทานวิตามิน K ในอาหารที่บริโภค ซึ่งจะมีผลในการต้านการออกฤทธิ์ของยาเช่นผักทั้งชนิดและปริมาณเพราะฉะนั้นแพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานผักในชนิดและปริมาณที่เท่ากันในแต่ละวัน
  3. ปฏิกิริยาของยาที่ใช้ร่วมกัน เพราะฉะนั้น ควรมีการแจ้งแพทย์ทุกครั้งที่มีการรับประทานยาอื่น ๆ ที่เพิ่มเติมมาจากที่แพทย์สั่ง เช่น ยา paracetamol ยาแก้ปวดประเภท NSAID’s,ยาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อ,ยาคุมกำเนิด  เป็นต้น
  4. การดื่มแอลกอฮอล์
  5. การติดเชื้อ
  6. อุจจาระร่วง
  7. การรับประทานอาหารเสริมบางชนิด

      ข้อแนะนำการปฏิบัติตัวในผู้ป่วยที่รับประทานยา warfarin

  1. หลีกเลี่ยง  การเล่นกีฬาที่มีการกระทบกระแทก
  2. สวมถุงมือ หากต้องใช้อุปกรณ์ของมีคม
  3. ลด ละ เลิก การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  4. ระมัดระวัง การลื่นล้มโดยเฉพาะในผู้ป่วยสูงอายุ
  5. สวมหมวกกันน็อก ทุกครั้งที่ขับขี่รถจักรยานยนต์
  6. หลีกเลี่ยง การนวดที่รุนแรง
  7. หลีกเลี่ยงการฉีดยาเข้ากล้าม
  8. แจ้งแพทย์หรือทันตแพทย์ทุกครั้งว่ารับประทานยาวอร์ฟาริน
  9. รับประทานผักและผลไม้ในปริมาณที่ เท่ากันในแต่ละวัน

10.หากมีจ้ำเลือดตามตัวหรือมีเลือดออกผิดปกติให้รีบพบแพทย์ทันที

       ยาหรือผลิตภัณฑ์ที่ควรหลีกเลี่ยง

  1. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารเสริมผักสกัดอัดเม็ด คลอโรฟิลด์อัดเม็ด อัลฟาฟ่าชาเขียว น้ำมันปลา วิตามินอี วิตามินเค ในขนาดสูง,โคเอมไซม์คิวเทน
  2. หลีกเลี่ยงยา  ASA (ทัมใจ  บูรา  บวดหาย )    NSAIDS, COX-2 inhibitor
  3. Steroid รวมถึงยาลูกกลอน
  4. หลีกเลี่ยง ยาสมุนไพร ,แปะก๊วย, โสม

ยาเสริมฤทธิ์ยาวอร์ฟารินที่พบบ่อย

   Cardiovascular Drugs

  • Amiodarone, propafenone
  • Fluvastatin, rosuvastatin
  • Propranolol

 Antibiotic

  • Erythromycin,clarithromycin
  • Cotrimoxazole,ciprofloxacin
  • Cefoperazole,metronidazole

Acid suppression therapy

  • Cimetidine, proton – pump  
  • inhibitors

NSAIDs รวมถึงยาในกลุ่ม Coxibs

ยาต้านฤทธิ์วอร์ฟารินที่พบบ่อย

  • Rifampicin
  • Phenytoin
  • Caebamezepine
  • Phenobarbital
  • Griseofulvin

อื่นๆ

  • Cholestyramine
  • Sucralfate

มีข้อสงสัยกรุณาติดต่อ คลินิกหูคอจมูก คลินิกศูนย์แพทย์พัฒนา

โทรศัพท์   02-3190909 ต่อ2309-2310 เวลา 08.00-19.00น.

Leave a reply